BACKGROUND


จากข้อมูลของ International Union for Conservation of Nature (IUCN) Red List of Threatened Species พบว่า สัตว์ป่าและพืชป่ามากกว่า 8,400 สายพันธุ์ กำลังใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ในขณะที่อีกเกือบ 30,000 สายพันธุ์ กำลังใกล้สูญพันธุ์หรือมีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ จากประมาณการนี้ เป็นไปได้ว่า มากกว่าหนึ่งล้านชนิดพันธุ์กำลังถูกคุกคามจากการสูญพันธุ์

การสูญเสียของชนิดพันธุ์ แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และระบบนิเวศอย่างต่อเนื่องดังกล่าว นับเป็นภัยคุกคามต่อทุกชีวิตบนโลก โดยเฉพาะมนุษย์จากทุกที่ที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากสัตว์ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อตอบสนองความต้องการทุกอย่างของเรา ตั้งแต่อาหาร เชื้อเพลิง ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และเป็นเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งผู้คนหลายล้านคนที่ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ เพื่อเป็นแหล่งทำมาหากินและโอกาสทางธุรกิจ

ด้วยเหตุผลข้างต้น ที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 16 (CITES CoP16) เมื่อวันที่ 3 - 14 มีนาคม 2556 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย จึงมีมติที่ Conf. 16.1 เห็นชอบข้อเสนอของประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุม ให้วันที่ 3 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 40 ปี วันลงนามรับรองอนุสัญญาไซเตส เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2516 ณ กรุงวอชิงตัน ดี ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็น "วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก (World Wildlife Day)" เพื่อเฉลิมฉลองในความสวยงามและรูป แบบที่หลากหลายของสัตว์ป่าและพืชป่า และเพื่อให้สาธารณชนได้ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่มีต่อมวลมนุษยชาติ ตลอดจนความจำเป็นเร่งด่วนในการต่อสู้กับอาชญากรรมด้านสัตว์ป่าและพืชป่าที่สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ต่อมาที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 68 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2556 ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีมติที่ A/RES/68/205 ประกาศอย่างเป็นทางการ ให้วันที่ 3 มีนาคม ของทุกปี เป็น "วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลกภายใต้องค์การสหประชาชาติ (United Nations World Wildlife Day)" พร้อมทั้งเชิญชวนให้รัฐสมาชิก (Parties) และองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และอนุภูมิภาค ร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญดังกล่าว โดยผ่านแนวคิดหลัก (Theme) ที่จะมีการกำหนดขึ้นในแต่ละปี นอกจากนี้ ที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 18 (CITES CoP18) ได้มีมติที่ Conf. 17.1 (Rev.CoP18) กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนรวมเนื่องในวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลกแก่ประเทศสมาชิกและองค์กรต่าง ๆ ที่สนใจ เพื่อให้สอดคล้องตามมติของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติดังกล่าวอีกด้วย

เพื่อให้เป็นไปตามมติที่ประชุมต่าง ๆ ข้างต้น ประเทศไทยโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในฐานะหน่วยงานกลางระดับประเทศของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Focal Point of National CITES Authorities) จึงได้จัดงานเนื่องในวันสำคัญดังกล่าวขึ้นเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2557




According to data from the International Union for Conservation of Nature (IUCN) Red List of Threatened Species, over 8,400 species of wild fauna and flora are critically endangered, while close to 30,000 more are understood to be endangered or vulnerable. Based on these estimates, it is suggested that over a million species are threatened with extinction.

Continued loss of species, habitats and ecosystems also threatens all life on Earth, including us. People everywhere rely on wildlife and biodiversity-based resources to meet all our needs, from food, to fuel, medicines, housing, and clothing. Millions of people also rely on nature as the source of their livelihoods and economic opportunities.

For the aforementioned reason, the Kingdom of Thailand’s proposal to declare 3 March of each year, the date of adoption of CITES in 1973 at Washington, D.C., as World Wildlife Day was adopted at the 16th session of the Conference of the Parties to CITES (CoP16, Bangkok, 2013) resulting in adoption of Conf. 16.1 to celebrate and raise awareness of the world's wild fauna and flora, their crucial roles as a part of the ecosystem and important resources to humanity, as well as the imperative need in combating against wildlife crime which affect a wide variety of sectors including economic, social and environmental.

At its 68th session, the United Nations General Assembly (UNGA) adopted resolution A/RES/68/205 and officially designated 3 March as United Nations World Wildlife Day, then invited Parties and international, regional and sub-regional organizations to facilitate events conforming to each year’s main theme for this important occasion. Subsequently, at the 18th session of the Conference of the Parties to CITES (CoP18), Conf. 17.1 (Rev.CoP18) was adopted in accordance with the aforementioned resolution adopted by UNGA, to give guidelines to Parties and organizations interested in facilitating events contributing to World Wildlife Day.

Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation as the Focal Point of National CITES Authorities, has been facilitating events contributing to World Wildlife Day since 2014.